วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ
ความหมายของระบบสารสนเทศ
ผู้คนส่วนใหญ่มักจะสับสนกับความหมายของคำว่า “สารสนเทศ” หรือ “อินฟอร์เมชั่น (Information)”และ “ข้อมูล” หรือ “ดาต้า (Data)” ความหมายของสองคำนี้เหมือนกันคือ ข้อมูล แต่เป็นข้อมูลที่ต่างกัน
อินฟอร์เมชั่นหรือสารสนเทศ คือ ผลที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลให้มีความหมาย มีประโยชน์ต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อการตัดสินใจของผู้รับ
ดาต้าหรือข้อมูลดิบ คือ ข้อมูลที่ยังไม่ได้ประมวลผล ฉะนั้น จึงอาจจะมีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าโดยตรงต่ออาจจะมีเพียงบางส่วนที่มีคุณค่าต่อผู้รับ
สำหรับ “ระบบสารสนเทศ (Information Systems)” นั้นมีความหมายตามหลักวิชาการ คือ กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความเกี่ยวพันกันสำหรับการรวบรวม การประมวลผล การบันทึก และการกระจายสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุน การตัดสินใจ และการควบคุมการดำเนินงานในองค์กร

ปัจจัยสำหรับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ในการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนั้น มีปัจจัยดังต่อไปนี้
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware)
2 ซอฟต์แวร์
3 ระเบียบวิธีปฏิบัติงานประกอบการใช้เครื่อง
4 ระเบียบวิธีการจัดการและการตัดสินใจ
5 ระบบฐานข้อมูล
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
สารสนเทศที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีความถูกต้องเที่ยงตรง
(2) มีความน่าเชื่อถือได้
(3) ทันสมัยอยู่เสมอ
(4) สามารถตรวจสอบได้
(5) มีความปลอดภัย
(6) คุ้มค่าและประหยัด
(7) มีความยืดหยุ่น
(8) เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ
(9) ง่ายต่อการนำมาใช้งาน


วิธีพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
วิธีที่นำมาพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอาจแบ่งออกได้เป็น 3 วิธีหลักด้วยกัน คือ
1 สร้างโครงการนำร่อง การมีโครงการนำร่องเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาในส่วนอื่นๆขององค์กรช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ดีเพื่อถึงเวลาที่จะต้องพัฒนาจริงจัง
2 จัดการฝึกอบรมการจัดให้มีการฝึกอบรมนั้นมีประโยชน์เพื่อเสริมสร้างแนวความคิด ความสามัคคี และนำเสนอโครงการนำร่อง เพื่อให้ทุกคนเห็นโอกาสและความเป็นไปได้
3 มีผลตอบแทน การจัดให้มีผลตอบแทนให้เห็นอย่างชัดเจน ช่วยทำให้พนักงานมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการใช้สารสนเทศให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ระดับของสารสนเทศ
สารสนเทศมี 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับบน เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกับแผน นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ เป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์การ
2. ระดับกลาง เป็นสารสนเทศสำหรับผู้จัดการ หรือผู้บริหารระดับกลางขององค์การที่มีการแปลงกลยุทธ์ ที่จะนำ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยแปลงกลยุทธ์ออกมาเป็นแนวปฏิบัติ หรือแผนปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมต่างๆ
3. ระดับล่าง เป็นสารสนเทศของผู้ปฏิบัติงานที่มีกรรมวิธีการดำเนินงาน หรือการปฏิบัติงานตามแนวทางที่ได้ มีการกำหนด โดยผู้บริหารระดับกลาง
อ้างอิงจากเว็บ
http://bankcom.blogspot.com/2008/01/blog-post_21.html
ระบบเอทีเอ็ม

การนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรก สร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคู่แข่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในเมืองใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ โตเกียว ปารีส และรวมทั้งกรุงเทพฯด้วย กล่าวคือ ธนาคารใดในเมืองเหล่านั้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือกว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่ง เนื่องจากได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในแง่การปรับปรุงการบริการแก่ลูกค้า เช่น ปรากฏการณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้ เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อนจึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูง
เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็ม ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูล ยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่ง นั้น ๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุด สามารถเรียกใช้และแก้ไขได้จากระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และ
เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและธุรกิจได้อีกมากมาย

อ้างอิง
http://it.benchama.ac.th/



ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
คือ สารสนเทศต้องถูกต้องเม่นยำ เมื่อพิจารณาสารสนเทศแล้วต้องเข้าใจง่ายมีวิธีการรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อ ถือ และเป็นวิธีที่ประหยัดเหมาะสมกับราคา นอกจากนี้ต้องตรวจสอบได้ ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และที่สำคัญต้องมีความปลอดภัย
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
1. ความเที่ยงตรง
2. ทันต่อความต้องการใช้
3. ความสมบูรณ์
4. การสอดคล้องกับความต้องการของ
5. ตรวจสอบ
สรุป ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี
1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.สามารถใช้สารสนเทศร่วมกันได้
3.การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสามารถทำได้สะดวกและถูกต้อง
4.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและเรียกใช้สารสนเทศ
5.ให้ความปลอดภัยในการใช้ระบบเพราะจะมีการจำกัดสิทธิ
6.มีการควบคุมมาตรฐานการใช้งานจากศูนย์กลาง
7.ความเที่ยงตรง
8.ทันต่อความต้องการใช้
9.ความสมบูรณ์
10.การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
11.ตรวจสอบได้
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1.ฮาร์ดแวร์
2.ซอฟต์แวร์
3.ข้อมูล
4.บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอรบุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ
อ้างอิงโดย
www.thaigoodview.com